การจัดกิจกรรมคณะสงฆ์อำเภอเมืองอุดรธานี
ลงทะเบียนสำหรับพระภิกษุ - สามเณร
ลงทะเบียนสำหรับอุบาสก - อุบาสิกา
ประวัติเมืองอุดรธานี
จังหวัดอุดรธานีมีตราประจำจังหวัดเป็นรูป ท้าวเวสสุวัณ (ท้าวกุเวร) ซึ่งเป็นท้าวจาตุมหาราช หรือหัวหน้าเทพยดาผู้ปกปักรักษาโลกด้านทิศอุดร หรือทิศเหนือ และมี ต้นทองกาว" หรือเรียกตาม ภาษาถิ่นว่า "ต้นจาน" เป็นต้นไม้ประจำจังหวัด ในด้านข้อมูลประวัติการก่อตั้งเมือง มีปรากฎขึ้นในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ซึ่งนับว่าเป็นเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ ครั้งหนึ่งของสยามเลยทีเดียวในครั้งนั้นต้องเผชิญกับภัยคุกคามการล่าอาณานิคม ของสองประเทศมหาอำนาจ คือฝรั่งเศสและอังกฤษ ซึ่งมีนโยบายล่าดินแดนแถบเอเชีย เป็นอาณานิคม ฝรั่งเศสนั้นผนวกเอาดินแดนประเทศเวียดนามและเขมร เป็นของตนส่วนอังกฤษ ก็ยึดเอาประเทศด้วยพระปรีชาญาณ รวมทั้งได้ทรงวางระเบียบแบบแผน ในการปกครองหัวเมืองชายแดนเพื่อเผชิญกับปัญหาน ี้จึงทรงแต่งตั้งบุคคลที่มี
ความรู้ความสามารถที่ทรงไว้วางพระราชหฤทัยไปปฏิบัติราชการประจำต่างหัวเมือง และหัวเมืองหน้าด่านซึ่งถูกล่วงล้ำอธิปไตยได้โดยง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคอีสาน
ดังนั้น ในปี พ.ศ. ๒๔๓๔ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้พระเจ้าน้องยาเธอ พลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม เป็นข้าหลวงใหญ่ (ซึ่งต่อมาภายหลัง ทรงสถาปนา พระยศเลื่อนเป็น กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม) พร้อมด้วยข้าราชการทหารตั้งอยู่ ณ เมืองหนองคาย เรียกว่า ข้าหลวงหัวเมืองลาวพวน รับผิดชอบเมืองใหญ่ ๑๓ เมือง เมืองขึ้น ๓๖ เมือง ซึ่งประกอบด้วย บางเมือง ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงด้วย ในขณะนั้น ฝรั่งเศสต้องการจะแบ่งดินแดนที่เคยเป็นของเวียดนาม ก็ต้องตกเป็นของฝรั่งเศสด้วย ทั้งได้ส่งเรือรบเข้าปิดล้อมอ่าวไทย บีบบังคับให้สยามลงนามในสนธิสัญญายอมรับสิทธิของฝรั่งเศสเหนือดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงและให้ถอยกองกำลังทหารห่างจากชายแดนในรัศมี ๒๕ กิโลเมตร ภายในระยะเวลา ๑ เดือน
ด้วยเหตุนี้เอง พระเจ้าน้องยาเธอ พลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม ข้าหลวงใหญ่มณฑลลาวพวน จึงต้องย้ายที่บัญชาการมณฑลลาวพวนที่ตั้งอยู่ ณ เมืองหนองคาย พระองค์ได้ทรงเคลื่อนกองกำลังทหารและข้าราชบริพารลงมาทางใต้จนถึง"บ้านเดื่อหมากแข้ง" ในวันที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ.๒๔๓๖ ที่นี่มีชัยภูมิเหมาะสมอุดมสมบูรณ์ด้วยแหล่งน้ำ จึงทรงตัดสินพระทัยสร้างแปงเมือง ณ ที่นี้ และได้ทำหนังสือกราบทูลไปยังพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงทราบ ซึ่งพระองค์ ทรงเห็นชอบที่ตั้งกองบัญชาการมณฑลลาวพวนแห่งใหม่นี้
พลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม ทรงวางแผนสร้างบ้านแปลงเมือง อย่างจริงจัง ทรงวางผังเมืองและบัญชาการการก่อสร้างเมืองด้วยพระองค์เองได้ทรงสร้างศาลาว่าการเมือง ค่ายทหารและสถานที่ราชการต่างส่วนวังที่ประทับได้ทรงสร้างใกล้กับต้นโพธิ์ใหญ่และทรงสร้างวัดขึ้นตรงข้าม กับบริเวณวังที่ประทับ ซึ่งมีโบราณสถานเก่าแก่อยู่เดิมแล้ว เพื่อเป็นพระอารามหลวงคู่บ้านคู่เมือง ทรงประทาน นามวัดแห่งนี้ว่า "วัดมัชฌิมาวาส" เพื่อเป็นศูนย์กลางและศูนย์รวมจิตใจของชาวเมือง นับแต่นั้น บ้านหมากแข้ง จึงมีฐานะเป็นกองบัฐชาการซึ่งมีการเปลี่ยนแปลง และพัฒนาการตามลำดับ ดังนี้
เมื่อพลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม ได้ทรงจัดราชการบ้านเมือง มณฑลลาวพวน และวางระเบียบการปกครองหัวเมืองชายแดนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็เสด็จกลับกรุงเทพฯ ในปี พ.ศ.๒๔๔๒ ไปดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงกลาโหมและผู้บังคับบัญชาการทหารเรือ พร้อมกับ ทรงเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น "กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม" โดยมีพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวัฒนานุวงศ์ เป็นข้าหลวงใหญ่มณฑลลาวพวนองค์ต่อมา (พ.ศ.๒๔๔๒ - พ.ศ.๒๔๔๙)
ปี พ.ศ. ๒๔๔๒ เปลี่ยนชื่อมณฑลลาวพวน เป็นมณฑลฝ่ายเหนือ มีเมืองต่าง ๆ ในปกครอง รวม ๑๒ เมือง ปี พ.ศ.๒๔๔๓ เปลี่ยนชื่อมณฑลฝ่ายเหนือเป็นมณฑลอุดร แบ่งการปกครองเป็น ๕ บริเวณ คือ บริเวณหมากแข้ง บริเวณพาชี บริเวณธาตุพนม บริเวณสกลนคร และบริเวณน้ำเหือง ปี พ.ศ. ๒๔๕๐ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวมเมือง กมุทธาไสย เมืองกุมภวาปี เมืองหนองหาร อำเภอบ้านหมากแข้ง ตั้งเป็นเมืองจัตวา เรียกว่า "เมืองอุดรธานี" และเป็นที่ตั้งที่ว่าการมณฑลอุดรอีกด้วย
วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๐ พระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร (โพธิ์ เนติโพธิ์) สมุหเทศาภิบาลมณฑลอุดร พร้อมกับกรมการเมือง ข้าราชการ พ่อค้า ประชาชนจัดพิธีตั้งเมืองขึ้น ณ สนามกลางเมือง มีการอ่านประกาศตั้งเมืองที่ปะรำพิธีและงานเฉลิมฉลอง รวม ๓ วัน ปี พ.ศ.๒๔๖๔ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้รวมมณฑลอุดร
มณฑลอุบลราชธานี และมณฑลร้อยเอ็ด เป็นภาค เรียกว่า ภาคอีสาน ตั้งที่บัญชาการที่เมืองอุดรธานี และโปรดให้ยุบเลิก ในปี พ.ศ.๒๔๖๘
ปี พ.ศ. ๒๔๗๕ มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบบสมบูรณาญาสิทธิราช เป็นระบอบประชาธิปไตย ในครั้งนี้ ได้ยกเลิกมณฑลต่าง ๆ มณฑลอุดรจึงถูกยกเลิกคงฐานะ
เป็นจังหวัดอุดรธานี จนกระทั่งปัจจุบันนี้ อนึ่ง ในวันที่ ๑๘ มกราคมของทุกปี จังหวัดอุดรธานีได้กำหนดจัดงานวันที่ระลึก คล้ายวันจัดตั้งเมืองอุดรธานี" โดยถือเป็นวันร่วมกันบำเพ็ญกุศลและเฉลิมพระเกียรติพลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ผู้ทรงสร้างเมืองอุดมธานี อีกด้วย
วัดมัชฌิมาวาส เที่ยวไทยไปให้รู้ดู หลวงพ่อนาค วัดมัชฌิมาวาส วัดเก่าแก่กลางเมืองอุดร ที่ใครก็ต้องไปออนซอนกราบนมัสการกันสักครั้ง อ่านเพิ่มเติม
สวนสาธารณะหนองประจักษ์ ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองอุดรธานี เป็นสวนสาธารณะที่อยู่ใจกลางเมืองฯ มีพื้นที่และบริเวณกว้างขวางหลายไร่ มีลักษณะเป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่ใจกลางเมือง รายล้อมด้วยต้นไม้และมองเห็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของเมืองอุดรตั้งอยู่ขนาบข้าง ไฮไลท์ที่น่าสนใจที่ทำให้หนองประจักษ์ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยว อ่านเพิ่มเติม
พระเทพโสภณ
เจ้าคณะภาค ๘
พระพรหมวัชรคุณาภรณ์ ผศ.ดร.
( สายพงศ์ อโนมปญฺโญ ป.ธ. ๕ )
เจ้าคณะจังหวัดอุดรธานี
๐๘๙-๙๔๔-๑๐๕๕
พระราชวัชรวิสุทธิ์
( ชาญชัย กิตฺติโก )
รองเจ้าคณะจังหวัดอุดรธานี รูปที่ ๑
พระครูมัญจาภิรักษ์
รองเจ้าคณะจังหวัดอุดรธานี รูปที่ ๒
พระครูธรรมสโมธาน
( วิสุทธิ์ สุทธิญาโณ ป.ธ.๓ )
เจ้าคณะอำเภอเมืองอุดรธานี
๐๘๑-๗๔๙-๑๑๕๗
พระครูประทุมพิทักษ์
( คำภา คมฺภีโร )
ที่ปรึกษา
เจ้าคณะอำเภอเมืองอุดรธานี
พระครูปภัสสรกิตติคุณ
( ประยูร ปภากโร )
รองเจ้าคณะอำเภอเมืองอุดรธานี
รูปที่ ๑
พระครูอุดมสิทธิกิจ
( ประสิทธิ์ ปสิทฺธิโก )
รองเจ้าคณะอำเภอเมืองอุดรธานี
รูปที่ ๒
พิพิธภัณฑ์เมืองอุดรธานี กับรูปแบบการเล่าเรื่องและนำเสนอด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยน่าสนใจ ภายใต้รูปแบบอาคารเก่าแก่ที่จะทำให้เราลืมภาพของการเที่ยวพิพิธภัณฑ์ประจำจังหวัดในแบบเดิม พิพิธภัณฑ์เมืองอุดรธานี จัดตั้งขึ้นในอาคารราชินูทิศอ่านเพิ่มเติม